วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555

โครงการถั่วงอก


โครงการถั่วงอก
หลักการและเหตุผล
ถั่วงอกทุกคนคงรู้จักเพราะเป็นพืชที่เพาะง่าย สามารถทำเป็นอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้ดี บางคนยึดเป็นอาชีพหลักก็มี ปัจจุบันการเพาะถั่วงอกได้มีการพัฒนาวิธีการทำเพื่อให้ได้ถั่วงอกที่ดี มีคุณภาพ สะอาดปราศจากสารเจือปน มีความอวบ สวย มากยิ่งขึ้น แต่บางครั้งมีการใส่สารเพื่อให้ถั่วงอกสดอยู่ได้หลายวันมากยิ่งขึ้นเมื่อ เก็บเกี่ยวแล้ว ทำให้เกิดอันตรายสำหรับผู้ที่ซื้อถั่วงอกไปรับประทาน และยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายสามารถอยู่อย่างพอเพียงตามแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกด้วย
ศูนย์ปฐมวัยต้นแบบโรงเรียนบ้านด่านเห็นความสำคัญของตัวเด็ก  จึงทำการปลูกถั่วงอก ขึ้นจากการแสดงความคิดเห็นของนักเรียน  ครูมีบทบาทในการจัดประสบการณ์และสิ่งแวดล้อม  เพื่อช่วยให้เด็กสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยใช้ทฤษฎีการเรียนการสอนแบบไฮ-สโคบ (High/Scope) (1964:17) กล่าวว่า  นักเรียนรู้ด้วยการลงมือปฎิบัติที่หลากหลาย  ได้สัมผัส ครูคอยจัดสิ่งแวดล้อม และเตรียมอุปกรณ์ไว้ ครูและนักเรียนมีปฎิสัมพันธ์กัน และครูกับผู้ปกครองมีสัมพันธ์ที่ดี

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้นักเรียนได้รับการพัฒนา จากการทำโครงการปลูกถั่วงอก เป็นการเตรียมความพร้อมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน เช่น ด้านร่างกาย  อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญา
2. ปลูกฝังให้นักเรียนได้เรียนรู้  การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ส่งเสริมทักษะในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
3. เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง
4. เพื่อให้นักเรียนรับประทานผัก(ถั่วงอกที่ตนปลูก)
5.ประสานสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครอง โรงเรียน และชุมชน  เพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กร่วมกัน


แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
-                   ไฮ/สโคป (High/Scop)
ระยะเวลาดำเนินการ
-                   วัน  ( วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม  2554 )
ขั้นปฎิบัติกิจกรรม
ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ
1.            เรียนรู้ เรื่องถั่วงอก  รับประทานแล้วมีประโยชน์
2.            เด็กๆและครู ร่วมกำหนดหัวข้อ “ถั่วงอก”
3.            ครูนำผัก  มาให้นักเรียนดู  ชิม สัมผัส  สนทนาถึงส่วนประกอบของผัก
ระยะที่ พัฒนาโครงการ
1.   ฝึกให้เด็กรู้จักกระบวนการคิด วางแผน ทำงานอย่างเป็นขั้นตอน รู้จักการแก้ปัญหาร่วมกัน และสรุปผล    การทดลอง
2.  ส่งเสริมให้เด็กรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และมีส่วนร่วมในการเรียน
3.  ส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออกด้วยการพูด การแสดงความคิดเห็นถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์เดิม
4.  สนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง เห็นความสำเร็จของผลงาน และภูมิใจในผลงาน  ของตนเอง
ระยะที่ รวบรวมสรุปผล
1.            สรุปผล  การทำตามขั้นตอนใหม่
2.            ทดลองปฎิบัติ สนทนาอภิปรายถึงวิธีการทำ
3.            เล่าถึงประโยชน์ที่ได้รับ
ขั้นสรุป
เด็กและครูร่วมกันสนทนา และสรุปโครงการถั่วงอกนักเรียนเกิดการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงได้รับการพัฒนา จากการทำโครงการปลูกถั่วงอก เป็นการเตรียมความพร้อมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน เช่น ด้านร่างกาย  อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญา  ปลูกฝังให้นักเรียนได้เรียนรู้  การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ส่งเสริมทักษะในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม   ประสานสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครอง โรงเรียน และชุมชน  เพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กร่วมกัน

งบประมาณ
 -
ผู้รับผิดชอบโครงการ
นางสาวจุฬาลักษณ์   ช่วงลาภและครูอนุบาลทุกท่าน โรงเรียนบ้านด่าน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.           ครูได้จัดประสบการณ์ที่หลากหลาย  และมีคุณค่าที่ส่งผลต่อการพัฒนาเด็กมากขึ้น
2.           ครูได้พัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ สำหรับเด็ก ให้ดียิ่งขึ้น
3.           ครูได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น แนวทางในการพัฒนาเด็ก ร่วมกับผู้ปกครอง
4.           นักเรียนมีความพร้อมทางด้านร่างกาย อารมณ์/จิตใจ  สังคม และสติปัญญามากขึ้น
การประเมินและติดตามผล
            สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการปฎิบัติกิจกรรม


..................................                                        ...........................................ผู้รับผิดชอบโครงการ
(นางประวีณา   มณีรัตน์)                             (นางสาวจุฬาลักษณ์   ช่วงลาภ)
หัวหน้าศูนย์ปฐมวัยต้นแบบ                                          ครู คศ.1

                      …………………………ผู้อนุมัติโครงการ
(นางวาสนา   เพชรสุข)
รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านด่าน รักษาราชการแทน
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านด่าน


รายงานโครงงาน  มาปลูกถั่วงอกกันเถอะ
1.            ชื่อโครงงาน  มาปลูกถั่วงอกกันเถอะ
2.            ผู้ทำโครงงาน
นักเรียนชั้นอนุบาล 1,2      จำนวน  155  คน
โรงเรียนบ้านด่าน   ปีการศึกษา  2554
3.            ครูที่ปรึกษา
นางสาวจุฬาลักษณ์  ช่วงลาภ  และครูอนุบาลทุกท่าน
4.             บทคัดย่อ
การปลูกถั่วงอก  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนชั้นอนุบาล   นักเรียนเกิดการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงได้รับการพัฒนา จากการทำโครงการปลูกถั่วงอก เป็นการเตรียมความพร้อมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน เช่น ด้านร่างกาย  อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญา  ปลูกฝังให้นักเรียนได้เรียนรู้  การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ส่งเสริมทักษะในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม   ประสานสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครอง โรงเรียน และชุมชน  เพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กร่วมกัน
5.            กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบคุณ คุณครู  ผู้ปกครอง  ผู้รู้ทุกท่าน ที่ให้ข้อมูลความรู้แก่เด็กๆ และขอขอบคุณที่ให้ความกรุณาให้คำแนะนำ คำปรึกษา
6.            ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ถั่วงอกทุกคนคงรู้จักเพราะเป็นพืชที่เพาะง่าย สามารถทำเป็นอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้ดี บางคนยึดเป็นอาชีพหลักก็มี ปัจจุบันการเพาะถั่วงอกได้มีการพัฒนาวิธีการทำเพื่อให้ได้ถั่วงอกที่ดี มีคุณภาพ สะอาดปราศจากสารเจือปน มีความอวบ สวย มากยิ่งขึ้น แต่บางครั้งมีการใส่สารเพื่อให้ถั่วงอกสดอยู่ได้หลายวันมากยิ่งขึ้นเมื่อ เก็บเกี่ยวแล้ว ทำให้เกิดอันตรายสำหรับผู้ที่ซื้อถั่วงอกไปรับประทาน และยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายสามารถอยู่อย่างพอเพียงตามแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกด้วย
ศูนย์ปฐมวัยต้นแบบโรงเรียนบ้านด่านเห็นความสำคัญของตัวเด็ก  จึงทำการปลูกถั่วงอก ขึ้นจากการแสดงความคิดเห็นของนักเรียน  ครูมีบทบาทในการจัดประสบการณ์และสิ่งแวดล้อม  เพื่อช่วยให้เด็กสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยใช้ทฤษฎีการเรียนการสอนแบบไฮ-สโคบ (High/Scope) (1964:17) กล่าวว่า  นักเรียนรู้ด้วยการลงมือปฎิบัติที่หลากหลาย  ได้สัมผัส ครูคอยจัดสิ่งแวดล้อม และเตรียมอุปกรณ์ไว้ ครูและนักเรียนมีปฎิสัมพันธ์กัน และครูกับผู้ปกครองมีสัมพันธ์ที่ดี

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้นักเรียนได้รับการพัฒนา จากการทำโครงการปลูกถั่วงอก เป็นการเตรียมความพร้อมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน เช่น ด้านร่างกาย  อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญา
2. ปลูกฝังให้นักเรียนได้เรียนรู้  การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ส่งเสริมทักษะในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
3. เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง
4. เพื่อให้นักเรียนรับประทานผัก(ถั่วงอกที่ตนปลูก)
5.ประสานสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครอง โรงเรียน และชุมชน  เพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กร่วมกัน

วิธีดำเนินงาน
1. ให้นักเรียนนำกระดาษทิชชู่ ถ้วยพลาสติกจากบ้าน
2. ครูนำถั่วเขียวที่เตรียมไว้ใส่กะละมังแล้วให้เด็กสัมผัส พร้อมตั้งคำถามให้เด็กหาคำตอบด้วยตนเอง
        - เด็กๆ จับถั่วเขียวแล้วรู้สึกอย่างไร
        - ทำไมต้องแช่ถั่วเขียวในน้ำ
3. นำน้ำอุ่นเทใส่กะละมังถั่วเขียวให้ท่วม แช่ทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง
4. เมื่อครบ 1 ชั่วโมงแล้วให้เด็กๆ ลองสัมผัสถั่วเขียวที่แช่น้ำ พร้อมตั้งคำถามให้เด็กตอบ ให้เด็กหาคำตอบด้วยตนเอง
         - เด็กจับถั่วเขียวแล้วรู้สึกอย่างไร
         - ถั่วเขียวที่แช่น้ำมีลักษณะอย่างไร
5. ครูสาธิตการปลูกถั่วเขียว โดยนำกระดาษทิชชู่วางบนจาน หรือถ้วย  2 - 3 ชั้น แล้วพรมน้ำให้กระดาษทิชชู่เปียก แล้วนำถั่วเขียวที่แช่น้ำไว้โรยบนกระดาษทิชชู่ที่เปียกให้กระจายๆกัน จากนั้นนำกระดาษทิชชู ปิดทับ 3 – 4 ชั้นแล้วพรมน้ำกระดาษทิชชู่ ให้ชุ่ม เป็นอันเสร็จ
6. เด็กทุกคนทดลองปลูกด้วยตนเองตามวิธีการที่ครูได้สาธิต  ครูคอยดูแลและให้คำแนะนำ แต่ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
7. เมื่อเด็กทุกคนปลูกถั่วเขียวครบแล้ว ให้นำไปวางเรียงบนหลังตู้ จากนั้นเด็กและครูสร้างข้อตกลงร่วมกันโดยให้เด็กช่วยกันคิดวิธีการดูแลรักษา ถั่วเขียว
         - ทำอย่างไรถั่วเขียวจะเจริญเติบโต
         - ในห้องเรียนเรามีหนูเราจะป้องกันไม่ให้หนูมากัดกินถั่วเขียวได้อย่างไร
8. ครูให้นักเรียนช่วยกันสังเกตการเจริญเติบโต ครูสังเกตความสนใจ และบันทึกคำพูดเด็ก
9. เมื่อถั่วเขียวกลายเป็นถั่วงอกที่โตเต็มที่ ให้เด็กๆ เก็บถั่วงอกของตนเอง โดยลอกเปลือกสีเขียวออก เด็ดรากออก  ใส่ถังล้างน้ำให้สะอาด นำไปรับประทานเป็นอาหารได้
สรุปผล
เด็กและครูร่วมกันสรุปการทดลองการปลูกถั่วงอก พบว่า ก่อนปลูก ถั่วเขียวมีลักษณะแข็ง ควรนำเม็ดถั่วเขียวแช่น้ำอุ่นเพื่อให้เม็ดถั่วเขียวอ่อนเปลือกนิ่ม ช่วยให้รากออกเร็ว การปลูกโดยใช้กระดาษทิชชู่เพราะกระดาษทิชชู่อมน้ำ ถั่วเขียวจะได้รับความชุ่มชื้นช่วยให้การเจริญเติบโตเป็นถั่วงอกเร็วขึ้น ถั่วงอกใช้การเจริญเติบโตประมาณ 7 วัน ในขณะที่ถั่วงอกกำลังเจริญเติบโต ไม่ควรรบกวนจับเม็ดถั่วเขียวเล่นหรือฉีกกระดาษทิชชู่ออก  ควรปล่อยให้เติบโตตามธรรมชาติ
ประโยชน์ที่ได้รับ
1 .พัฒนาการทางด้านร่างกาย เด็กได้เคลื่อนไหว ประกอบเพลง มากินผักเด็กเล่นเกม หยิบของเล่นใส่ตะกร้า
2. พัฒนาการด้านจิตใจ  เด็กมีความใจเย็น รู้จักการรอคอยการเจริญเติบโตของถั่วงอก เอาใจใส่ต่องานที่ได้รับมอบหมาย และเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง
3 .พัฒนาการด้านสังคม เด็กรู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การปรับตัวอยู่ร่วมกันในสังคม และการช่วยกับเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย
4 .พัฒนาการด้านสติปัญญา เด็กรู้จักการสังเกต การสัมผัส การทดลองวางแผนการทำงานก่อนลงมือปฏิบัติจริง และการดูแลเอาใจใส่ในงานจนเกิดผลสำเร็จ
5. เด็กเกิดความภาคภูมิใจในผลงานอย่างมาก สังเกตการเจริญเติบโตของถั่วงอกของตนเองทุกวัน และยังคอยสอบถาม สังเกตการเจริญเติบโตของถั่วงอกของเพื่อน รู้จักการเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างถั่วงอกของตนเองและของเพื่อน
6. เด็กๆ อยากชิมถั่วงอกของตนเอง จากการสอบถามความรู้สึกของเด็กๆ ต่อถั่วงอกของตนเอง ทำให้ทราบว่าอยากจะลองรับประทานถั่วงอกของตนเองที่ปลูก และอยากชิมถั่วงอกของเพื่อนด้วย



















ภาคผนวก










โครงงาน   มาปลูกถั่วงอกกันเถอะ
ครูแนะนำอุปกรณ์และขั้นตอนการดำเนินงาน

นักเรียนปฏิบัติจริง


จากถั่วเขียว  กลายเป็น ถั่วงอกแล้ว



โครงงานเรื่อง    มาปลูกถั่วงอกกันเถอะ

ของ
นางสาวจุฬาลักษณ์   ช่วงลาภ
ครู คศ.1




โรงเรียนบ้านด่าน   ภาคเรียนที่  2
สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง





2 ความคิดเห็น: